วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ตอบคำถาม หน้า 61 ข้อที่ 1 และ ข้อที่ 2

ให้นักเรียนตอบคำถามต่อไปนี้
1.              เครือข่ายอินเทอร์เน็ตคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร
ตอบ  เครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่โยงใยกันทั่วโลก มีบริการในด้านต่างๆ มากมายไว้บริการสำหรับผู้ที่ต้องการ
        ในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต มีประโยชน์แก่ผู้ใช้ในรูปแบบต่างๆ  ดังนี้ 
 ประโยชน์ด้านการอ่าน ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, ด้านการค้นคว้าข้อมูล, ด้านการ  ประชาสัมพันธ์ ในการติดต่อโฆษณา, ด้านข้อมูลข่าวสาร, ด้านบริการดาวน์โหลดซอฟต์แวร์ต่างๆ, ด้านการค้นคว้าข้อมูลจากห้องสมุด ออนไลน์ , ด้านการผ่อนคลาย สามารถใช้บริการเกมออนไลน์ เพื่อให้ความบันเทิง และการฝึกทักษะทางสมอง , ด้านความบันเทิง มีบริการดูโทรทัศน์และฟังเพลง
ด้านความสะดวกสบาย เช่น การสั่งซื้อสินค้า , การเรียนทางไกล , การแลกเปลี่ยนข้อมูลได้ในเวลาที่รวดเร็ว

2.              การสืบค้นข้อมูลจากเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีวิธีการอย่างไร
              ตอบ  การนำความรู้เกี่ยวกับอินเทอร์เน็ต มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาหาความรู้ ได้แก่ การสืบค้นข้อมูลทาง                อินเทอร์เน็ต โดยการใช้งานอินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการศึกษานี้จะสามารถแบ่งเนื้อหาออกเป็น     3 ระดับดังนี้         
                       1. การสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
                       2. การนำข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมาใช้งาน
                        3. การสร้างแหล่งข้อมูลด้วยตนเอง

                                                                                                                                                                         

                                                                                                                                      จัดทำโดย
                                                                                                          เด็กหญิง พุทธิดา  หนองใหญ่  เลขที่ 34
                                                                                                                            ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2
                                                                                                                                      เสนอ
                                                                                                           อาจารย์ พุธชาติ  มั่นเมือง


คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

คุณธรรมและจริยธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต
การใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกก่อให้เกิดผลกระทบในส่วนที่เป็นผลดีและที่เป็นผลเสีย รวมทั้งปัญหามากมาย หากทุกคนคำนึงถึงหลักคุณธรรมและจริยธรรม ในการปฏิบัติต่อกันแล้ว ก็จะสามารถลดปัญหาลงไปได้มาก
    1. ผลกระทบของการใช้อินเตอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตมีการขยายตัวของการใช้ อย่างกว้างขวางไปทั่วโลกและมีการกระจายตัวไปยังวงการธุรกิจ นอกจากการใช้ในทางธุรกิจแล้ว อินเตอร์เน็ตได้ถูกนำมาใช้ในด้านการศึกษาหาความรู้ทั้งในระบบและนอกระบบ และในขณะเดียวกันก็ถูกนำมาใช้ในการบันเทิงในอัตราที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
     ปรากฏการดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบดังต่อไปนี้
ทางด้านบวก  อินเทอร์เน็ตเป็นผลดีต่อการศึกษาหาความรู้ มีข้อมูลทุกอย่างสามารถเรียกมาดูได้ในเวลารวดเร็ว ไม่ต้องเสียเวลาค้นหาข้อมูลจากห้องสมุดโดยใช้เวลานาน และมีความบันเทิงโดยไปต้องออกไปนอกบ้าน และยังอำนวยความสะดวกและรวดเร็วแก่การติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่อยู่ห่างไกลกัน
  ทางด้านลบ  ข้อมูลต่างๆ ที่มีอยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จำนวนไม่น้อยเป็นข้อมูลที่เชื่อถือไม่ได้ บางเว็บไซต์มีสื่อลามากอนาจารหรือความรุนแรง และการพนัน ซึ่งทำลายศีลธรรมและพฤติกรรมของประชาชน นอกจากนี้ อินเตอร์เน็ตยังเป็นช่องทางสำหรับการละเมิดสิทธิส่วนบุคคลได้ง่าย และทำให้เสียสุขภาพ เวลาที่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเวลานานๆ โดยไม่ได้ขยับเคลื่อนไหวและอินเทอร์เน็ตเป็นระบบอิสระ ไม่มีเจ้าของ      ทำให้การควบคุมกระทำได้ยาก
2. มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเตอร์เน็ต
เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีผู้ใช้จำนวนมาก จึงก่อให้เกิดความเสียหายได้มาก ด้วยเหตุนี้ ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตจึงควรปฏิบัติตามมารยาทและข้อบังคับในการใช้อย่างเคร่งครัดรวมทั้งข้อควรระวังต่างๆ ต่อไปนี้
1)                ต้องให้เกียรติผู้อื่นที่พบหรือติดต่อกันในเครือข่าย แม้จะไม่รู้จักกันมาก่อน
2)                ใช้ภาษาที่สุภาพ ไม่ใส่ร้ายหรือกลั่นแกล้งบุคคลใดเป็นการส่วนตัว
3)                ไม่ควรใช้ภาษาอังกฤษเป็นอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ในห้องสนทนา เพราะถือว่าเป็นการใช้ภาษาที่ไม่สุภาพ
4)                อย่าหลงเชื่ออีเมลที่ปล่อยข่าวลือ หรือการโฆษณาขายสินค้าที่ต้องโอนเงินผ่านอินเทอร์เน็ต โดยไม่มีบริษัทที่น่าเชื่อถือเป็นหลักประกัน
5)                ไม่ควรส่งอีเมลที่มีไวรัสหรือสงสัยว่ามีไวรัสแนบไปกับอีเมล เพราะจะเป็นการสร้างปัญหาให้กับผู้อื่นเป็นอย่างมาก ให้เสียเวลาในการแก้ปัญหาหรือกู้แฟ้มข้อมูล
6)                ห้ามเปิดแฟ้มข้อมูลจากแหล่งที่มาที่ไม่น่าไว้ใจ หรือมีข้อความแจ้งว่าเป็นบริการฟรี หรือแจ้งว่าท่านถูกรางวัลหรือได้รับสิทธิพิเศษบางอย่าง แฟ้มข้อมูลประเภทนี้มักเป็นเรื่องที่มีเจตนาไม่ดี
7)                ถ้าได้รับอีเมลที่มีการส่งต่อมาเป็นทอดๆ หรือมีลักษณะเป็นจดหมายลูกโซ่ ไม่ควรส่งต่อ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่อาจตกเป็นผู้ต้องหาในฐานะผู้เผยแพร่ข่าวสารที่มีความผิดตามกฎหมาย
8)                ไม่บอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ชื่อ โรงเรียนของตนให้แก่บุคคลอื่นที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ต โดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน
9)                ไม่ควรไปพบบุคคลใดก็ตามที่รู้จักกันทางอินเทอร์เน็ตโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้ปกครองก่อน และหากผู้ปกครองอนุญาต ก็ควรไปพร้อมกับผู้ปกครอง โดยควรไปพบกันในที่สาธารณะ
10)           ไม่ตอบคำถามหรือต่อความกับผู้ที่สื่อข้อความหยาบคาย และต้องแจ้งให้ผู้ปกครองทราบทันที
11)           ไม่ส่งรูปหรือสิ่งใดๆ ให้บุคคลที่รู้จักทางอินเทอร์เน็ต
12)           ไม่มีความลับใด ๆ บนอินเทอร์เน็ต ให้นึกเสมอว่าข้อความของเราจะมีคนอ่านมากมายเมื่อเขียนไปแล้วไม่สามารถลบล้างได้
13)           ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี และรหัสผ่านของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
14)           ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
15)           ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
16)           ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ใน ทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อ ศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
17)           ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูก ความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
18)           ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผย ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่
19)           เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
20)           ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
21)           ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย

3.  ความรับผิดตามกฎหมายในการเผยแพร่สารสนเทศ
         สำหรับประเทศไทย เรามีกฎหมายควบคุมคือตามพระราชบัญญัติว่าด้ายการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 
.. 2550   ผู้เผยแพร่ข่าวสารที่มีลักษณะต้องห้าม เช่น ทำให้ผู้อื่นได้รับความเสียหาย หรือหมิ่นประมาทผู้อื่น เป็นภัยต่อความมั่นคงของประเทศ ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ต้องได้รับโทษทางอาญา (มีทั้งโทษจำคุกและโทษปรับ) และยังอาจต้องรับผิดทางแพ่ง คือชดใช้ค่าเสียหาย ด้วย กฎหมายถือว่า ผู้ส่งต่อมีความผิดเช่นเดียวกับผู้เริ่มต้นเผยแพร่เพราะฉะนั้นการส่งต่อข้อมูลข่าวสารจึงเป็นเรื่องที่มีความเสี่ยงสูง                                                                                 

                                                                                                                                                                                             จัดทำโดย
เด็กหญิง พุทธิดา  หนองใหญ่  เลขที่ 34
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2
                                                                                                                                
                                                                                                                                                                                 เสนอ
อาจารย์ พุธชาติ  มั่นเมือง